นายทุนซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ มีวิธีการเลือกที่ดินอย่างไร พฤศจิกายน 23, 2567 รับลิงก์ Facebook X Pinterest อีเมล แอปอื่นๆ นายทุนซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ มีวิธีการเลือที่ดินอย่างไร การเลือกทำเลที่ตั้ง ขั้นตอนสำคัญเพื่อประสิทธิภาพก่อนทำธุรกิจ ก่อนที่จะทำการสร้างโรงงานหรือโกดังเก็บสินค้านั้น จำเป็นต้องเลือกทำเลที่ตั้งให้เหมาะสม เพราะขั้นตอนนี้คือขั้นตอนสำคัญที่อาจส่งผลให้การดำเนินธุรกิจราบรื่นได้ หากมีการเลือกทำเลที่ตั้งได้ไม่ดี อาจทำให้เสียงบประมาณและเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ได้ มาดูกันว่าหากอยากเลือกทำเลที่ตั้งที่ดีมีปัจจัยอะไรบ้าง มีความสำคัญอย่างไรต่อการทำธุรกิจต่างๆ quote ทำเลที่ตั้งคืออะไร ทำเลที่ตั้งคืออะไร? ทำเลที่ตั้ง ในความหมายของการเลือกทำเลที่ตั้งสำหรับการสร้างโรงงานหรือโกดังเก็บสินค้าจะหมายถึง ทำเลหรือพื้นที่ภูมิศาสตร์ที่มีธรรมชาติ ซึ่งสามารถอำนวยความสะดวกในการทำงานได้ โดยความสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งนั้น มีอยู่ 2 ข้อ คือ อย่างแรกธุรกิจต้องมีการดำเนินงานในระยะยาว ควรคำนึงถึงตั้งแต่เรื่องของโรงงาน อาคาร เครื่องจักร และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เพราะหากตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งผิดพลาด มักก่อให้เกิดความยุ่งยากต่อการแก้ไขได้ อย่างที่สอง คือเงินลงทุน การเลือกทำเลที่ตั้งที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุน ที่อาจสูงเกินที่จำเป็น และกระทบไปถึงงบการขนส่งที่สูงขึ้น การจัดหาวัตถุดิบได้ไม่เพียงพอ การขาดแคลนแรงงาน ไปจนถึงเสียเปรียบในการแข่งขันในการทำธุรกิจหรือกิจการต่างๆ จึงควรใช้เวลาไตร่ตรองให้เพียงพอ โดยควรคิดทบทวนในปัจจัยต่างๆ ด้วยความระมัดระวังเมื่อต้องทำการเลือกทำเลที่ตั้งใหม่ในแต่ละครั้ง ปกติแล้วไม่ใช่ทุกทำเลที่ตั้งที่จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกแบบครบครัน การเลือกทำเลที่ตั้งจึงใช้ความสำคัญของด้านใดด้านหนึ่งในการกำหนดมากกว่า หรือหากตั้งใจที่จะพิจารณาทำเลที่ตั้งสำหรับการขยับขยายกิจการ อาจเลือกทำเลที่ตั้งที่มีความสะดวกต่างจากสถานที่ในทำเลเดิม เพื่อให้มีความแตกต่างที่สามารถนำมาเพิ่มศักยภาพของการผลิต ให้มีกำลังในการผลิตมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินงานมากๆ ความสำคัญของการเลือกทำเลที่ตั้ง ความสำคัญของการเลือกทำเลที่ตั้ง หากพูดโดยรวม การเลือกทำเลที่ตั้งนั้นมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจ คือมีส่วนช่วยที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ เนื่องจากการวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งจากความเฉพาะเจาะจงและความเป็นไปได้ โดยควรเริ่มพิจารณาจากสิ่งแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก ยอดขายที่คาดว่าจะได้รับ ต้นทุนในการลงทุน ต้นทุนในการขนส่ง แรงงาน และโอกาสที่ได้รับจากหน่วยงานต่างๆ จากปัจจัยทั้งหมดนี้ถือเป็นองค์ประกอบที่เหมาะสมในการเลือกทำเลที่ตั้งที่ดี และเมื่อมีการเลือกทำเลที่ตั้งที่ดี จึงมีส่วนต่อความสำเร็จของธุรกิจได้ นอกจากนี้ทำเลที่ตั้งที่เลือกไว้ต้องเหมาะสมกับประเภทของธุรกิจด้วย ปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงก่อนการเลือกทำเลที่ตั้ง ปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงก่อนการเลือกทำเลที่ตั้ง แม้จะพอทราบไปแล้วคร่าวๆ ว่าการเลือกทำเลที่ตั้งควรคำนึงถึงหลากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยในด้านสภาพแวดล้อม ระยะทางที่อำนวยความสะดวกในการขนส่ง แต่ยังมีอีกหลายๆ ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการเลือกทำเลที่ตั้งอีกด้วย เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น ดังนี้ ทำเลควรอยู่ใกล้กลุ่มลูกค้า ปัจจัยแรกในการเลือกทำเลที่ตั้งโรงงาน คือการพิจารณาถึงที่ตั้งของผู้ผลิต ซัพพลายเออร์ และตลาดของลูกค้า ควรมีการเลือกทำเลที่ตั้งให้ใกล้กับผู้ผลิตหรือลูกค้าให้ได้มากที่สุด เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า หรือในกรณีที่ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นตลาดต่างประเทศ หากส่งออกสินค้าหรือนำเข้าสินค้าทางเครื่องบิน ทำเลที่ตั้งจึงควรอยู่ไม่ไกลจากสนามบิน หากเป็นทางเรือควรมีทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้กับท่าเรือ เพื่อให้การขนส่งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยท่าเรือหลักของไทย ได้แก่ ท่าเรือคลองเตย ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นต้น การเดินทางสะดวกต่อการขนส่ง นอกจากทำเลที่ตั้งจะควรใกล้กับตลาดของลูกค้าแล้ว ควรมีการคมนาคมที่สะดวกสบายด้วย ตั้งแต่การเดินทางที่สามารถเดินทางไปได้หลากหลายเส้นทาง เชื่อมต่อกับสถานที่สำคัญ มีการเชื่อมต่อกับแต่ละภูมิภาค หากมีทางด่วนด้วยก็ถือว่าเป็นการคมนาคมที่ได้เปรียบเลยทีเดียว ทั้งหมดนี้จึงควรนำมาใช้พิจารณาเมื่อทำการเลือกทำเลที่ตั้ง เพราะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการขนส่งหรือการทำโลจิสติกส์ โดยปัจจัยเพิ่มเติมที่ควรคำนึงเพื่อประสิทธิภาพของการขนส่ง เช่น ความคล่องตัวในการจราจร ความเร็วโดยเฉลี่ยในการจราจร ช่องทางเพื่อไปยังทางด่วนทั้งขาเข้าและขาออก การเชื่อมต่อของทางด่วน การจราจรในชั่วโมงเร่งด่วน และความปลอดภัยโดยรวมของถนน เป็นต้น การเดินทางสะดวกต่อการขนส่ง ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ จึงควรนำปัจจัยนี้มาพิจารณาเมื่อมีการเลือกทำเลที่ตั้งของโรงงานหรือโกดัง โดยควรเลือกพื้นที่หรือบริเวณที่มีแรงงานมากเพียงพอต่อความต้องการ ยิ่งมีจำนวนแรงงานมากเท่าไร โอกาสที่จะจัดหาแรงงานที่มีคุณภาพยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งแต่ละพื้นที่ย่อมมีแรงงานที่ทักษะ ค่าแรง และจำนวนที่แตกต่างกันออกไป จึงต้องสำรวจข้อมูลทั้งหมดให้เรียบร้อยก่อนเลือกที่ตั้งให้เหมาะสมได้ อีกทั้ง การเลือกทำเลที่ตั้งใกล้แหล่งแรงงาน ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของแรงงาน ข้อได้เปรียบนี้อาจส่งผลให้การทำงานของแรงงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการเดินทางนาน จนอาจทำให้เสียสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้ ทำเลเป็นไปตามกฎหมายผังเมือง ทำเลเป็นไปตามกฎหมายผังเมือง อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือกฎหมายผังเมือง เนื่องจากการเลือกทำเลที่ตั้ง ควรคำนึงถึงกฏหมายในการก่อสร้างด้วย เพราะตามกฎหมายผังเมืองในบางพื้นที่จะไม่อนุญาตให้สร้างโรงงาน โกดัง และคลังเก็บสินค้า หรืออาจมีการกำหนดขนาดของสิ่งก่อสร้าง จึงควรศึกษารายละเอียดในเรื่องนี้ให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด หรือสามารถติดต่อสอบถามกับสำนักงานเขตหรือเทศบาลท้องถิ่นที่ดูแลที่ดินในส่วนของที่ตั้งที่สนใจก่อนได้ ทำเลควรอยู่ใกล้บริการสาธารณะและสาธารณูปโภค สำหรับปัจจัยนี้ ผู้ประกอบการบางคนอาจไม่ได้คำนึงถึง แต่ในความเป็นจริงแล้ว บริการสาธารณะและสาธารณูปโภคถือเป็นสิ่งสำคัญมากๆ สำหรับการเลือกทำเลที่ตั้งโรงงาน หรือโกดัง ปัจจัยนี้จึงไม่ควรมองข้าม เพราะเมื่อถึงคราวจำเป็น หรือมีเหตุฉุกเฉินก็สามารถเข้าไปใช้บริการสาธารณะได้แบบทันท่วงที เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง โดยบริการสาธารณะที่จำเป็น เช่น โรงพยาบาล สถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง สถานที่ราชการต่างๆ เป็นต้น ในส่วนของบริการด้านสาธารณูปโภคที่คอยอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ในส่วนนี้จะเอื้อประโยชน์ต่อพนักงาน โดยสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับบริการสาธารณูปโภค เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ตลาด ห้างสรรพสินค้า ธนาคาร เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของที่อยู่อาศัย ควรเป็นทำเลที่ตั้งที่มีที่อยู่อาศัยมากพอที่จะให้พนักงานได้เข้าพัก โดยมีที่พักที่เหมาะสม เช่น อพาร์ตเมนต์ ห้องเช่า แมนชั่น การเคหะฯ โครงการพักอาศัย เป็นต้น การเลือกทำเลที่ตั้งระหว่างเมืองใหญ่และเมืองเล็ก การเลือกทำเลที่ตั้งระหว่างเมืองใหญ่และเมืองเล็กต่างกันอย่างไร? แม้จะมีปัจจัยมากมายในการเลือกทำเลที่ตั้ง แต่ยังมีปัจจัยที่ควรคำนึงว่าจะให้โรงงานอยู่ในเมืองใหญ่หรือเมืองเล็ก ซึ่งทั้งสองเมืองมีข้อดีที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านของสภาพแวดล้อมและคุณภาพของแรงงาน หากผู้ประกอบการไม่รู้ว่าจะทำการเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้าที่ไหนดี สามารถพิจารณาก่อนได้ดังนี้ ข้อดีของการเลือกทำเลในเมืองใหญ่ สำหรับการเลือกทำเลที่ตั้งในเมืองใหญ่ย่อมมีข้อดีมากมาย เนื่องจากมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน โดยข้อดีของการเลือกทำเลในเมืองใหญ่มีดังนี้ การคมนาคมและการขนส่งสะดวกกว่าเมืองเล็ก มีสาธารณูปโภคครบครัน และสถานที่ใช้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกที่หลากหลาย ระบบการเงินคล่องตัว เนื่องจากมีธนาคารสาขาใหญ่หลายสาขา ส่งผลดีในเรื่องการกู้เงินเพื่อนำมาลงทุน ตลาดของลูกค้าในระดับท้องถิ่นมีขนาดใหญ่ตามขนาดของเมือง สามารถศึกษาหรือหาข้อมูลได้ง่ายดาย พนักงานฝ่ายการจัดการสามารถศึกษาหรือหาข้อมูลได้สะดวก เมืองใหญ่มักมีจำนวนคนที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก จึงทำให้มีตลาดแรงงานขนาดใหญ่ ซึ่งมีแรงงานหลายรูปแบบให้ได้เลือกสรรตามความต้องการ ข้อดีของการเลือกทำเลในเมืองเล็ก แม้เมืองเล็กจะมีข้อเสียเปรียบในเรื่องของขนาดเมืองเมื่อเทียบกับเมืองใหญ่ แต่การเลือกทำเลที่ตั้งในเมืองเล็กก็มีข้อดีที่ต่างกันอยู่ ดังนี้ ภาษีในระดับท้องถิ่นมีราคาถูกกว่า หากอยากขยับขยายโรงงานให้ใหญ่ขึ้นก็สามารถทำได้โดยที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมาก เพราะราคาที่ดินไม่สูงเท่าที่ดินในเมืองใหญ่ ค่าจ้างสำหรับแรงงานไม่ได้สูงมาก เนื่องจากเป็นเมืองเล็ก จึงทำให้คนส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทั้งความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานด้วยกันเอง และระหว่างคนภายในชุมชน ทำเลที่ตั้ง คือทำเลหรือพื้นที่ภูมิศาสตร์ที่มีธรรมชาติซึ่งสามารถอำนวยความสะดวกในการทำงาน การเลือกทำเลที่ตั้งจึงสำคัญ เพราะมีส่วนช่วยที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้หากมีการวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งได้ถูกต้องและเหมาะสม ตั้งแต่การเลือกที่จะอยู่ใกล้กับกลุ่มลูกค้าและกลุ่มแรงงาน การขนส่งสะดวก และการจัดตั้งโรงงานเป็นไปตามกฎหมายผังเมือง ใกล้กับบริการสาธารณะและสาธารณูปโภค ไปจนถึงสภาพแวดล้อมเหมาะสม หากผู้ประกอบการท่านใดกำลังทำการเลือกทำเลที่ตั้งให้กับโรงงานหรือโกดังอยู่ และกำลังตามหาทำเลที่ดินดีๆ มีความน่าเชื่อถือได้เมื่อมีการทำการซื้อ-ขาย สามารถเข้าไปดูได้ที่K-Propertyพร้อมเลือกทำเลที่ตั้งที่ถูกใจกันได้เลย การเลือกทำเลที่ตั้ง ขั้นตอนสำคัญเพื่อประสิทธิภาพก่อนทำธุรกิจ ก่อนที่จะทำการสร้างโรงงานหรือโกดังเก็บสินค้านั้น จำเป็นต้องเลือกทำเลที่ตั้งให้เหมาะสม เพราะขั้นตอนนี้คือขั้นตอนสำคัญที่อาจส่งผลให้การดำเนินธุรกิจราบรื่นได้ หากมีการเลือกทำเลที่ตั้งได้ไม่ดี อาจทำให้เสียงบประมาณและเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ได้ มาดูกันว่าหากอยากเลือกทำเลที่ตั้งที่ดีมีปัจจัยอะไรบ้าง มีความสำคัญอย่างไรต่อการทำธุรกิจต่างๆ quote ทำเลที่ตั้งคืออะไร ทำเลที่ตั้งคืออะไร? ทำเลที่ตั้ง ในความหมายของการเลือกทำเลที่ตั้งสำหรับการสร้างโรงงานหรือโกดังเก็บสินค้าจะหมายถึง ทำเลหรือพื้นที่ภูมิศาสตร์ที่มีธรรมชาติ ซึ่งสามารถอำนวยความสะดวกในการทำงานได้ โดยความสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งนั้น มีอยู่ 2 ข้อ คือ อย่างแรกธุรกิจต้องมีการดำเนินงานในระยะยาว ควรคำนึงถึงตั้งแต่เรื่องของโรงงาน อาคาร เครื่องจักร และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เพราะหากตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งผิดพลาด มักก่อให้เกิดความยุ่งยากต่อการแก้ไขได้ อย่างที่สอง คือเงินลงทุน การเลือกทำเลที่ตั้งที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุน ที่อาจสูงเกินที่จำเป็น และกระทบไปถึงงบการขนส่งที่สูงขึ้น การจัดหาวัตถุดิบได้ไม่เพียงพอ การขาดแคลนแรงงาน ไปจนถึงเสียเปรียบในการแข่งขันในการทำธุรกิจหรือกิจการต่างๆ จึงควรใช้เวลาไตร่ตรองให้เพียงพอ โดยควรคิดทบทวนในปัจจัยต่างๆ ด้วยความระมัดระวังเมื่อต้องทำการเลือกทำเลที่ตั้งใหม่ในแต่ละครั้ง ปกติแล้วไม่ใช่ทุกทำเลที่ตั้งที่จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกแบบครบครัน การเลือกทำเลที่ตั้งจึงใช้ความสำคัญของด้านใดด้านหนึ่งในการกำหนดมากกว่า หรือหากตั้งใจที่จะพิจารณาทำเลที่ตั้งสำหรับการขยับขยายกิจการ อาจเลือกทำเลที่ตั้งที่มีความสะดวกต่างจากสถานที่ในทำเลเดิม เพื่อให้มีความแตกต่างที่สามารถนำมาเพิ่มศักยภาพของการผลิต ให้มีกำลังในการผลิตมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินงานมากๆ ความสำคัญของการเลือกทำเลที่ตั้ง ความสำคัญของการเลือกทำเลที่ตั้ง หากพูดโดยรวม การเลือกทำเลที่ตั้งนั้นมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจ คือมีส่วนช่วยที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ เนื่องจากการวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งจากความเฉพาะเจาะจงและความเป็นไปได้ โดยควรเริ่มพิจารณาจากสิ่งแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก ยอดขายที่คาดว่าจะได้รับ ต้นทุนในการลงทุน ต้นทุนในการขนส่ง แรงงาน และโอกาสที่ได้รับจากหน่วยงานต่างๆ จากปัจจัยทั้งหมดนี้ถือเป็นองค์ประกอบที่เหมาะสมในการเลือกทำเลที่ตั้งที่ดี และเมื่อมีการเลือกทำเลที่ตั้งที่ดี จึงมีส่วนต่อความสำเร็จของธุรกิจได้ นอกจากนี้ทำเลที่ตั้งที่เลือกไว้ต้องเหมาะสมกับประเภทของธุรกิจด้วย ปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงก่อนการเลือกทำเลที่ตั้ง ปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงก่อนการเลือกทำเลที่ตั้ง แม้จะพอทราบไปแล้วคร่าวๆ ว่าการเลือกทำเลที่ตั้งควรคำนึงถึงหลากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยในด้านสภาพแวดล้อม ระยะทางที่อำนวยความสะดวกในการขนส่ง แต่ยังมีอีกหลายๆ ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการเลือกทำเลที่ตั้งอีกด้วย เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น ดังนี้ ทำเลควรอยู่ใกล้กลุ่มลูกค้า ปัจจัยแรกในการเลือกทำเลที่ตั้งโรงงาน คือการพิจารณาถึงที่ตั้งของผู้ผลิต ซัพพลายเออร์ และตลาดของลูกค้า ควรมีการเลือกทำเลที่ตั้งให้ใกล้กับผู้ผลิตหรือลูกค้าให้ได้มากที่สุด เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า หรือในกรณีที่ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นตลาดต่างประเทศ หากส่งออกสินค้าหรือนำเข้าสินค้าทางเครื่องบิน ทำเลที่ตั้งจึงควรอยู่ไม่ไกลจากสนามบิน หากเป็นทางเรือควรมีทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้กับท่าเรือ เพื่อให้การขนส่งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยท่าเรือหลักของไทย ได้แก่ ท่าเรือคลองเตย ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นต้น การเดินทางสะดวกต่อการขนส่ง นอกจากทำเลที่ตั้งจะควรใกล้กับตลาดของลูกค้าแล้ว ควรมีการคมนาคมที่สะดวกสบายด้วย ตั้งแต่การเดินทางที่สามารถเดินทางไปได้หลากหลายเส้นทาง เชื่อมต่อกับสถานที่สำคัญ มีการเชื่อมต่อกับแต่ละภูมิภาค หากมีทางด่วนด้วยก็ถือว่าเป็นการคมนาคมที่ได้เปรียบเลยทีเดียว ทั้งหมดนี้จึงควรนำมาใช้พิจารณาเมื่อทำการเลือกทำเลที่ตั้ง เพราะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการขนส่งหรือการทำโลจิสติกส์ โดยปัจจัยเพิ่มเติมที่ควรคำนึงเพื่อประสิทธิภาพของการขนส่ง เช่น ความคล่องตัวในการจราจร ความเร็วโดยเฉลี่ยในการจราจร ช่องทางเพื่อไปยังทางด่วนทั้งขาเข้าและขาออก การเชื่อมต่อของทางด่วน การจราจรในชั่วโมงเร่งด่วน และความปลอดภัยโดยรวมของถนน เป็นต้น การเดินทางสะดวกต่อการขนส่ง ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ จึงควรนำปัจจัยนี้มาพิจารณาเมื่อมีการเลือกทำเลที่ตั้งของโรงงานหรือโกดัง โดยควรเลือกพื้นที่หรือบริเวณที่มีแรงงานมากเพียงพอต่อความต้องการ ยิ่งมีจำนวนแรงงานมากเท่าไร โอกาสที่จะจัดหาแรงงานที่มีคุณภาพยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งแต่ละพื้นที่ย่อมมีแรงงานที่ทักษะ ค่าแรง และจำนวนที่แตกต่างกันออกไป จึงต้องสำรวจข้อมูลทั้งหมดให้เรียบร้อยก่อนเลือกที่ตั้งให้เหมาะสมได้ อีกทั้ง การเลือกทำเลที่ตั้งใกล้แหล่งแรงงาน ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของแรงงาน ข้อได้เปรียบนี้อาจส่งผลให้การทำงานของแรงงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการเดินทางนาน จนอาจทำให้เสียสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้ ทำเลเป็นไปตามกฎหมายผังเมือง ทำเลเป็นไปตามกฎหมายผังเมือง อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือกฎหมายผังเมือง เนื่องจากการเลือกทำเลที่ตั้ง ควรคำนึงถึงกฏหมายในการก่อสร้างด้วย เพราะตามกฎหมายผังเมืองในบางพื้นที่จะไม่อนุญาตให้สร้างโรงงาน โกดัง และคลังเก็บสินค้า หรืออาจมีการกำหนดขนาดของสิ่งก่อสร้าง จึงควรศึกษารายละเอียดในเรื่องนี้ให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด หรือสามารถติดต่อสอบถามกับสำนักงานเขตหรือเทศบาลท้องถิ่นที่ดูแลที่ดินในส่วนของที่ตั้งที่สนใจก่อนได้ ทำเลควรอยู่ใกล้บริการสาธารณะและสาธารณูปโภค สำหรับปัจจัยนี้ ผู้ประกอบการบางคนอาจไม่ได้คำนึงถึง แต่ในความเป็นจริงแล้ว บริการสาธารณะและสาธารณูปโภคถือเป็นสิ่งสำคัญมากๆ สำหรับการเลือกทำเลที่ตั้งโรงงาน หรือโกดัง ปัจจัยนี้จึงไม่ควรมองข้าม เพราะเมื่อถึงคราวจำเป็น หรือมีเหตุฉุกเฉินก็สามารถเข้าไปใช้บริการสาธารณะได้แบบทันท่วงที เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง โดยบริการสาธารณะที่จำเป็น เช่น โรงพยาบาล สถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง สถานที่ราชการต่างๆ เป็นต้น ในส่วนของบริการด้านสาธารณูปโภคที่คอยอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ในส่วนนี้จะเอื้อประโยชน์ต่อพนักงาน โดยสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับบริการสาธารณูปโภค เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ตลาด ห้างสรรพสินค้า ธนาคาร เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของที่อยู่อาศัย ควรเป็นทำเลที่ตั้งที่มีที่อยู่อาศัยมากพอที่จะให้พนักงานได้เข้าพัก โดยมีที่พักที่เหมาะสม เช่น อพาร์ตเมนต์ ห้องเช่า แมนชั่น การเคหะฯ โครงการพักอาศัย เป็นต้น การเลือกทำเลที่ตั้งระหว่างเมืองใหญ่และเมืองเล็ก การเลือกทำเลที่ตั้งระหว่างเมืองใหญ่และเมืองเล็กต่างกันอย่างไร? แม้จะมีปัจจัยมากมายในการเลือกทำเลที่ตั้ง แต่ยังมีปัจจัยที่ควรคำนึงว่าจะให้โรงงานอยู่ในเมืองใหญ่หรือเมืองเล็ก ซึ่งทั้งสองเมืองมีข้อดีที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านของสภาพแวดล้อมและคุณภาพของแรงงาน หากผู้ประกอบการไม่รู้ว่าจะทำการเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้าที่ไหนดี สามารถพิจารณาก่อนได้ดังนี้ ข้อดีของการเลือกทำเลในเมืองใหญ่ สำหรับการเลือกทำเลที่ตั้งในเมืองใหญ่ย่อมมีข้อดีมากมาย เนื่องจากมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน โดยข้อดีของการเลือกทำเลในเมืองใหญ่มีดังนี้ การคมนาคมและการขนส่งสะดวกกว่าเมืองเล็ก มีสาธารณูปโภคครบครัน และสถานที่ใช้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกที่หลากหลาย ระบบการเงินคล่องตัว เนื่องจากมีธนาคารสาขาใหญ่หลายสาขา ส่งผลดีในเรื่องการกู้เงินเพื่อนำมาลงทุน ตลาดของลูกค้าในระดับท้องถิ่นมีขนาดใหญ่ตามขนาดของเมือง สามารถศึกษาหรือหาข้อมูลได้ง่ายดาย พนักงานฝ่ายการจัดการสามารถศึกษาหรือหาข้อมูลได้สะดวก เมืองใหญ่มักมีจำนวนคนที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก จึงทำให้มีตลาดแรงงานขนาดใหญ่ ซึ่งมีแรงงานหลายรูปแบบให้ได้เลือกสรรตามความต้องการ ข้อดีของการเลือกทำเลในเมืองเล็ก แม้เมืองเล็กจะมีข้อเสียเปรียบในเรื่องของขนาดเมืองเมื่อเทียบกับเมืองใหญ่ แต่การเลือกทำเลที่ตั้งในเมืองเล็กก็มีข้อดีที่ต่างกันอยู่ ดังนี้ ภาษีในระดับท้องถิ่นมีราคาถูกกว่า หากอยากขยับขยายโรงงานให้ใหญ่ขึ้นก็สามารถทำได้โดยที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมาก เพราะราคาที่ดินไม่สูงเท่าที่ดินในเมืองใหญ่ ค่าจ้างสำหรับแรงงานไม่ได้สูงมาก เนื่องจากเป็นเมืองเล็ก จึงทำให้คนส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทั้งความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานด้วยกันเอง และระหว่างคนภายในชุมชน ทำเลที่ตั้ง คือทำเลหรือพื้นที่ภูมิศาสตร์ที่มีธรรมชาติซึ่งสามารถอำนวยความสะดวกในการทำงาน การเลือกทำเลที่ตั้งจึงสำคัญ เพราะมีส่วนช่วยที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้หากมีการวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งได้ถูกต้องและเหมาะสม ตั้งแต่การเลือกที่จะอยู่ใกล้กับกลุ่มลูกค้าและกลุ่มแรงงาน การขนส่งสะดวก และการจัดตั้งโรงงานเป็นไปตามกฎหมายผังเมือง ใกล้กับบริการสาธารณะและสาธารณูปโภค ไปจนถึงสภาพแวดล้อมเหมาะสม หากผู้ประกอบการท่านใดกำลังทำการเลือกทำเลที่ตั้งให้กับโรงงานหรือโกดังอยู่ และกำลังตามหาทำเลที่ดินดีๆ มีความน่าเชื่อถือได้เมื่อมีการทำการซื้อ-ขาย สามารถเข้าไปดูได้ที่K-Propertyพร้อมเลือกทำเลที่ตั้งที่ถูกใจกันได้เลย ความคิดเห็น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น